วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พลังงานของเรา

คุณสมบัติของไฮโดรเจน ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและเป็นองค์ประกอบของน้ำที่เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก เป็นโมเลกุลมีทั่วไปตามธรรมชาติ บรรยากาศในโลกมีก็าซไฮโดรเจนประมาณ 0.1 ppm. มีความแข็งแรงในการยึดโมเลกุล เท่ากับ 436 kJ/mol (104 kcal/mol) ดังนั้น เมื่อต้องการให้ไฮโดรเจนโมเลกุลทำปฏิกิริยา จึงต้องใช้พลังงานเพื่อทำลายความแข็งแรงในการยึดโมเลกุลดังกล่าว เช่น เพิ่มอุณหภูมิ ใช้สารเร่งปฏิกิริยา เป็นต้น ไฮโดรเจนอะตอมปประกอบด้วยนิวเคลียส์ อยู่กลาง ภายในนิวเคลียส์ ประกอบด้วยโปรตอน และนิวตรอน และมีอิเลคตรอนวิ่งรอบนอก เหมือนธาตุอื่นๆ ไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทปขึ้นกับจำนวนโปรตอน และจำนวนนิวตรอนที่ต่างกัน ดังนี้ 1. ไฮโดรเจน (Hydrogen) มีจำนวนโปรตอน 1 โปรตอน จำนวน 1 นิวตรอน มีน้ำหนักฮะตอม เท่ากับ 1.0078 2. ดิวเทอเรียม (Deuterium) มีจำนวนโปรตอน 2 โปรตอน จำนวน 1 นิวตรอน มีน้ำหนักฮะตอม เท่ากับ 2.0141 3. ตริเที่ยม (Tritium) มีจำนวนโปรตอน 3 โปรตอน จำนวน 1 นิวตรอน มีน้ำหนักฮะตอม เท่ากับ 3.0161 ลักษณะทั่วไปของไฮโดรเจนทั้ง 3 สถานะ ไฮโดรเจนที่เป็นของแข็ง ไม่มีสี โครงสร้างผลึก 6 เหลี่ยม Molar Volume = 22.56 cm3/mol ไฮโดรเจนที่เป็นของเหลวไม่มีสี ค่า Viscosity ต่ำ เคลื่อนที่ได้เร็ว ไฮโดรเจนที่เป็นก๊าซ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นพิษ ก๊าซไฮโดรเจน 1 ลิตร มีมวล 0.0898 กรัม เมื่อศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์เชิงความร้อนที่อุณหภูมิต่างๆ ของไฮโดรเจนโมเลกุลในสภาวะที่เป็นก๊าซที่ความดันบรรยากาศ พบว่า ความหนาแน่น (density, r) specific heat at constant pressure, Cp viscosity, m kinematic viscosity, Thermal Conductivity, k aborption coefficient, a และ Prandtl number, Prโมเลกุลของไฮโดรเจน มี 2 รูปแบบ คือ Ortho-Hydrpgen และ Para-Hydrogen ทั้งสองชนิดมีลักษณะการหมุนของนิวเคลียสอะตอม โดย Ortho-Hydrpgen มีนิวเคลียสอะตอมที่ประกอบเป็นโมเลกุลหมุนไปในทิศทางเดียวกัน ส่วน Para-Hydrogen มีนิวเคลียสอะตอมที่ประกอบเป็นโมเลกุลหมุนไปในทิศทางตรงกันข้าม ทำให้คุณสมบัติด้าน Thermodynamics แตกต่างกัน แต่คุณสมบัติทางเคมีไม่ต่างกัน อัตราส่วนสมดุลระหว่าง Ortho-Hydrpgen : Para-Hydrogen = 3:1 ที่อุณหภูมิห้อง เรียกว่า Normal Hydrogen และ Para-Hydrogen เป็นรูปแบบไฮโดรเจนที่มีพลังงานต่ำ ความร้อนจากปฏิกิริยาในการเปลี่ยน Normal Hydrogen ไปเป็น Para-Hydrogen เรียกว่า DH ตามตารางที่ 2.2 ตารางที่ 2 ค่าคงที่สมดุลระหว่าง Ortho-Hydrpgen และ Para-Hydrogen ที่อุณหภูมิต่างๆ อุณหภูมิ (K)Para-Hydrogen ที่สภาวะสมดุล (%)?H (kJ/mol) 100.0-1.062710100.0 2099.82 2599.01 3097.02 3593.45 4088.73 5077.05-1.0627551.86-0.971010038.62 15028.60 20025.97-0.330230025.07-0.556> 50025.00 การละลายของไฮโดรเจนในของเหลวได้น้อย จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โดยไฮโดรเจนมีค่าการละลาย ที่ 273.15 ?K = 1.755x103 mol% การละลายของไฮโดรเจนในโลหะ

ความรู้เด็ดการเลี้ยงปลาทับทิม

ข้อมูลการเลี้ยงปลาทับทิม
ปลาทับทิม เป็นปลาที่สามารถเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจได้ มีเกษตรกรบางรายที่นำปลาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ ปลาร้า จำหน่าย จนสามารถทำกำไรและลดต้นทุน มีรายได้เสริมอย่างงดงามปลาทับทิมจึงเป็นปลาซึ่งเกษตรกรผู้มีทุนน้อยสามารถเลี้ยงได้ในเชิงเศรษฐกิจ ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ร้านอาหาร โต๊ะจีน ต่างนิยมนำปลาทับทิมมาทำเป็นอาหาร
ลักษณะเด่น 9 ประการ ของปลาทับทิม
1. เส้นใยเนื้อละเอียดแน่นจึงมีรสชาติดีและปราศจากกลิ่น
2. มีไขมันต่ำมากจึงปราศจากกลิ่นที่เกิดจากไขมันในตัวปลา และเป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์
3. ปริมาณเนื้อบริโภคได้ต่อน้ำหนักสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนสันหนามาก
4. ส่วนหัวเล็ก โครงกระดูกเล็ก ก้างน้อย5. ผิวมีสีแดงอมชมพู เนื้อทุกส่วนสีขาวทำให้น่ารับประทาน
6. เจริญเติบโตในความเค็มสูงถึง 25 ppt7. อัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก
8. การกินอาหารเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคสัตว์น้ำต่างๆ ได้ดี
9. สามารถเลี้ยงในกระชังมีความหนาแน่นสูงได้ โดยไม่มีผลเสียต่อปลา ให้ผลผลิตเฉลี่ย 40 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร
สำหรับขั้นตอนการเลี้ยงอย่างมืออาชีพ
1. จัดเตรียมกระชังปลาสำหรับเลี้ยงปลา ระยะเวลา 4 เดือน เดือนแรก 4 กระชัง เดือนที่สอง 4 กระชัง เดือนที่สาม 4 กระชัง เดือนที่สี่ 4 กระชัง รวมแล้ว 16 กระชัง (เป็นการเลี้ยงครบวงจรดูรายละเอียดการเลี้ยง)
2. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ยังไม่ได้รับการอนุบาล จะตกราคาตัวละ 50 สตางค์ แต่มีอัตราการเสี่ยงสูง เพราะเมื่อเลี้ยงแล้วจะมีอัตราการตายสูงถึง 60%3. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ได้รับการอนุบาลแล้วคือ มีอายุ ประมาณ 2 เดือน น้ำหนักตัวอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ 3.50 บาท (ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้วลดอัตราการเสี่ยง เพราะจะเสียหายเพียง 5-6% เท่านั้น) เมื่อเตรียมพันธุ์ปลาแล้ว (สามารถติดต่อซื้อลูกปลาได้แล้วและกำหนดวันส่งอย่างแน่นอน)
1. นำกระชังปลาที่เตรียมไว้ จำนวน 4 กระชัง ลงน้ำ ไว้เพื่อให้กระชังสร้างความสมดุลกับน้ำและหาข้อบกพร่องของกระชัง ไม่ว่าจะเป็นทุ่นตะแกรง เพราะเมื่อนำลูกปลาลงเลี้ยงแล้ว จะแก้ไขไม่ได้
2. นำลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้ว (อายุ 2 เดือน น้ำหนักอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ ประมาณ 3.50 บาท) จำนวน 950 ตัว ต่อหนึ่งกระชัง ลงทั้งหมด 4 กระชัง ในวันแรกของการลงลูกปลา หลังจากที่ลูกปลาสามารถปรับสภาพกับน้ำได้แล้ว ให้นำยาปฏิชีวนะ วิตามิน ผสมในอาหารสำเร็จรูป สูตร 9950 เป็นเวลา 7 วัน วันละ 4 ครั้ง คือเวลา 08.00 น. - 11.00 น. - 13.30 น. - 16.30 น. (ไม่ให้เลยเวลาของลูกจ้าง ถ้าเกษตรกรเลี้ยงเอง สามารถยืดเวลาออกไปได้อีก) ให้ดูน้ำหนักของลูกปลาจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 4% (น้ำหนักอยู่ที่ 50-55 กรัม)3. หลังจากเลี้ยงได้ 7 วันแล้ว ให้อาหารสำเร็จรูปสูตร 9950 โดยไม่ต้องผสมยาปฏิชีวนะและวิตามิน ใช้เวลา 15-20 อัตราการเจริญเติบโตของปลาอยู่ที่ 100-120 กรัม (จากวันที่ลงลูกปลา)
4. หลังจากเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9951 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 60 วัน อัตราการเจริญเติบโตของปลา อยู่ที่ 400-500 กรัม5. ระยะเดือนสุดท้าย ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9952 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน น้ำหนักปลาอยู่ที่ 800 กรัม (เป็นน้ำหนักมาตรฐาน) ซึ่งสามารถจับขายได้ ระยะเวลาการเลี้ยงตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงเวลาจับขาย ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือน (120 วัน)การเลี้ยงแบบครบวงจร 4 เดือน 16 กระชัง1. เดือนแรกลง 4 กระชัง (ตามที่เขียนไว้)2. เดือนที่สอง ให้ลงกระชังเพิ่มอีก 4 กระชัง และเริ่มวิธีเลี้ยงกระชังแรกรวมเป็น 8 กระชัง3. เดือนที่สาม ให้ลงกระชังเพิ่มอีก 4 กระชัง และเริ่มวิธีเลี้ยงเหมือนขั้นตอนแรกรวมเป็น 12 กระชัง4. เดือนที่สี่ ให้ลงกระชังปลาเพิ่มอีก 4 กระชัง และเริ่มวิธีเลี้ยงเหมือนขั้นตอนแรกรวมเป็น 16 กระชัง ครบวงจรเมื่อลงกระชังปลาและเลี้ยงปลาจนครบวงจร 16 กระชัง ในเดือน ซึ่งเป็นการเข้าสู่ระบบการเลี้ยงครบวงจร (เริ่มเก็บผลประโยชน์) คือเกษตรกรสามารถจับปลาขายได้ในเดือนแรก (กระชัง 4 กระชังของเดือนแรก) และต่อมาสามารถจับปลาขายได้ทุกเดือน สร้างรายได้อย่างแน่นอนเป็นระบบหมุนเวียน จับขายแล้วลงลูกปลาต่อ ซึ่งทางเกษตรกรสามารถกำหนดเวลาการขาย การลงลูกปลาอย่างแน่นอน สมกับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ต้นทุนการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังแบบครบวงจร 16 กระชัง มีดังต่อไปนี้กระชังปลา 1 กระชัง สามารถลงลูกปลาได้ จำนวน 950 ตัว ราคาตัวละ 3.50 บาท รวมเป็นเงิน 3,325 บาท ลงลูกปลา 4 กระชัง สามารถลงลูกปลาได้ จำนวน 3,800 ตัว ราคาตัวละ 3.50 บาท รวมเป็นเงิน 13,300 บาท ระยะเวลาการเลี้ยง 4 เดือน (มีอัตราการสูญเสียคิดอัตราสูงสุด ที่กระชัง 50 ตัว) คงเหลือปลาที่สามารถจับขายได้ 3,600 ตัว สามารถขายได้ในกิโลกรัมละ 45-50 บาท (อัตราการขายต่ำที่สุด) น้ำหนักและขนาดของปลาทับทิมที่ได้มาตรฐานอยู่ที่ 800-900 กรัม (สามารถขายปลาได้น้ำหนักรวม 3,240 กิโลกรัม ด้วยราคาปลาที่ 40 บาท ต่อกิโลกรัม จะได้เงินทั้งสิ้นจำนวน 129,600 บาท จำนวนนี้ยังไม่รวมค่าแรง ค่าอาหาร ค่ายา และค่าเสื่อมกระชัง แต่ไม่รวมค่าสร้างกระชัง การเลี้ยงควรจะเลี้ยงเป็นอาชีพ อย่าเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม เพราะการเลี้ยงปลานั้นต้องเอาใจใส่อย่างดี วิธีเลี้ยงที่ดีที่สุดเป็นมาตรฐานคือ เลี้ยงจำนวน 16 กระชัง ซึ่งสามารถใช้แรงงานเพียงแค่ 1-2 คน เท่านั้นการเลี้ยงปลาทับทิมเกษตรกรต้องมีความอดทน ต้องดูแลเอาใจใส่ สังเกตว่าปลามีความเครียดหรือไม่ การกินอาหารมีโรคแทรกหรือไม่ ถ้าพบความผิดปกติต้องให้ยารักษา ให้วิตามิน ก็จะทำให้ปลาเจริญเติบโตแข็งแรง สำหรับการเลี้ยงบางครั้งการเลี้ยงปลาอาจมีการตายของปลา ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลงตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเกษตรกรควรนำปลาที่ตายมาดัดแปลง เช่น ทำน้ำปลา ทำปลาร้า ส่วนกระเพาะภายในของปลาก็นำมาทำปุ๋ยชีวภาพ ก็จะทำให้เกษตรกรมีรายได้มาทดแทนปลาที่ตายไป และเป็นการลดต้นทุนทำให้มีกำไรเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เงินลงทุนเลี้ยงปลาทับทิม จำนวน 1,600 ตัว (2 กระชัง)1. ค่าลูกปลาตัวละ 2.32 บาท จำนวน 1,600 ตัว = 3,712 บาท2. ค่าอาหารปลา เบอร์ 9950 128 กิโลกรัม x 18.5 บาท = 2,368 บาทเบอร์ 9951 1,024 กิโลกรัม x 17.75 บาท = 18,176 บาท3. ค่าเสื่อมกระชัง = 634 บาท4. ค่ายา + วิตามิน ประมาณ = 500 บาทต้นทุนรวม = 25,390 บาท5. ขายปลาเลี้ยง (เลี้ยงรอด 85%) = 1,360 บาท10% น้ำหนัก 450 กรัม (136 ตัว) = 61.2 บาท90% น้ำหนัก 600 กรัม (1,224 ตัว) = 734.4 บาทน้ำหนักปลารวม = 795.6 บาท6. ต้นทุนต่อกิโลกรัม = 32.6 บาท7. วิเคราะห์ กำไร (ขาดทุน) ของเกษตรกรบริษัทรับซื้อคืนขนาด 450 กรัม = 30 บาท ต่อกิโลกรัมเป็นเงิน 61.2 x 30 = 1,836 บาทบริษัทรับซื้อคืนขนาด 600 กรัม = 40 บาทเป็นเงิน 734.4 x 40 = 29,376 บาทรวมเป็นเงินขายปลาทั้งหมด = 31,212 บาทรายได้ต่อเดือน (2 กระชัง) = 5,822 บาทกำไร ต่อกิโลกรัม = 7.50 บาท ต่อกิโลกรัมมูลค่ากระชังขนาด 3 x 3 x 2.5 เมตร (2 ใบ)1. กระชังขนาดปลา 3.5 cm. ด้าย #12 ใบละ 1,800 บาทจำนวน เป็นเงิน 3,600 บาท2. ถังน้ำมัน 200 ลิตร ใบละ 300 บาทจำนวน 6 ใบ เป็นเงิน 1,800 บาท3. เหล็กดำ 1 นิ้ว เส้นละ 280 บาทจำนวน 4 เส้น เป็นเงิน 1,120 บาท4. เหล็กดำ 3/4 นิ้ว เส้นละ 280 บาทจำนวน 3 เส้น เป็นเงิน 720 บาท5. อวนเขียว 1 ม้วน ม้วนละ 280 บาท6. ค่าแรงและอุปกรณ์อื่นๆ ในการสร้างกระชัง กระชังละ 2,000 บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,500 บาทมูลค่าต่อกระชัง 1 ใบ 4,760 บาท- กระชัง 1 ใบ อายุการใช้งาน ปี เลี้ยงปลาได้ 7.5 รุ่น- ค่าเสื่อมกระชัง ต่อรุ่น 317 บาทเมลของผู้นำเสนอdaeng.navy22@hotmail.comขอคุณที่ให้ความรู้จากใจผู้ทำบล็อกไม่ ได้เขียนเรื่องราวเรื่องปลาบู่นานแล้ว เพราะอะไรหนึ่ง เทคโนโลยีการเลี้ยงยังไม่ค่อยมีอะไรคืบหน้ามาก สอง ผู้เลี้ยงปลาบู่เป็นอาชีพยังมีน้อยแต่ที่เปลี่ยนแปลงไป ก็คือ ราคารับซื้อผลผลิตปลาบู่ปรับตัวขึ้นตลอด จาก 250 บาท เป็น 350 บาท และล่าสุด 500 บาท ต่อกิโลกรัมแล้วเห็นมั้ยล่ะ! น่าสนใจขนาดไหน อดไม่ได้ที่จะหาหนทางมาเสนอ แม้ว่าไม่มีอะไรใหม่ แต่ราคารับซื้อนี่ซิ สูงจนน่าติดตามเหตุผล ที่ราคารับซื้อสูง อาจเป็นเพราะว่าสัตว์น้ำชนิดนี้หายาก และไม่มีใครนิยมเลี้ยงกัน ประกอบกับตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะเพื่อนบ้าน อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน มีความต้องการเป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีการแย่งซื้อสินค้ากัน ส่งผลให้ราคารับซื้อปรับขึ้นสูงตลอดทำไม อาชีพการเพาะเลี้ยงปลาบู่จึงไม่ค่อยนิยมกัน เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้คำตอบ โดยเฉพาะผู้คนที่อยู่นอกวงการสัตว์น้ำสาเหตุ เพราะว่าสัตว์น้ำชนิดนี้หาสายพันธุ์ยาก แม้ว่าทางกรมประมงจะประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์แล้วก็ตาม แต่ขั้นตอนอนุบาลนั้นยังมีการเจริญเติบโตไม่เหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ นั่นก็คือ จะต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงจากลูกปลา จนได้ขนาด 1 ขีด นานกว่า 1 ปี ส่งผลให้เกษตรกรไม่ค่อยนิยมซื้อพันธุ์ปลา อายุ 1-2 เดือน จากกรมประมงไปเลี้ยง ส่วนใหญ่จะเสาะหาปลาขนาด 1-2 ขีด จากธรรมชาติมากกว่า เพราะว่าไม่ต้องเสียเวลาในการเลี้ยงอนุบาลนั่นเองอย่างไรก็ตาม ในการนำพันธุ์จากธรรมชาติมาเลี้ยงก็ยังมีข้อเสียอยู่ 2 ประการหลักๆ หนึ่ง จำนวนหรือปริมาณไม่แน่นอน สอง ลูกปลาที่ได้มามีสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรง อันเนื่องมาจากการดักจับแท้จริงพันธุ์ปลาบู่ในธรรมชาติยังมีค่อน ข้างมาก โดยเฉพาะภายในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดสุพรรณบุรี แต่ทว่าเมื่อนำมาเลี้ยงต่อจะไม่ค่อยรอดชีวิต เนื่องจากในระหว่างการจับเกิดความบอบช้ำทั้งภายในและภายนอกลำตัว ยกเว้นลูกปลาที่จับจากการวางลอบ จะเกิดบาดแผลน้อย ยิ่งจับได้ตามแหล่งน้ำใกล้ๆ กับสถานที่เลี้ยงก็ยิ่งมีอัตรารอดชีวิตระหว่างเลี้ยงสูง เพราะว่าทั้งอุณหภูมิน้ำ และสภาพน้ำหรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ใกล้เคียงกันนั่นเองรู้จัก พูนศักดิ์ ตันติเดชามงคล ผู้เลี้ยงปลาบู่ในลุ่มน้ำแม่กลองแม่ กลอง เป็นชื่อลำน้ำสำคัญทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดตาก และจังหวัดกาญจนบุรี บริเวณหุบเขาและบนที่สูงของเทือกเขาถนนธงชัยกับเทือกเขาตะนาวศรีกั้นเขตแดน ประเทศไทยกับประเทศพม่าลำน้ำที่ไหลจากเขตจังหวัดตาก เรียก แควใหญ่ หรือแควศรีสวัสดิ์ และลำน้ำที่ไหลจากเขตจังหวัดกาญจนบุรีเรียก แควน้อย หรือ แควไทรโยคแควทั้งสองไหลมาสมทบกันที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นลำน้ำใหม่เรียก แม่กลองแม่ น้ำแม่กลองไหลผ่านพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี ต่อจากนั้นไหลลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี แล้วเข้าสู่เขตอำเภอบางคนที อำเภออัมพวา และออกท้องทะเลอ่าวไทย ที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม เรียกบริเวณนั้นว่า อ่าวแม่กลองจังหวัดสมุทรสงคราม สภาพพื้นที่เหมาะแก่การทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน และบริเวณปากอ่าวมีน้ำกร่อยและน้ำเค็มด้วย ซึ่งลักษณะเช่นนี้จึงเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทสัตว์น้ำที่เป็นอาหารเลี้ยงประชากรในท้องถิ่นและเป็นสินค้าออกในรูป ของอาหารทะเลสดๆ เช่น ปู ปลา กุ้ง หอย นานาชนิดแม่น้ำแม่กลอง เปรียบเสมือนสายโลหิตที่สำคัญในการดำรงชีวิตมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยว่าเป็นแหล่งอุปโภค บริโภค ใช้ในการเกษตร การประมง อุตสาหกรรม การคมนาคม ขนส่งสินค้า มิแปลกที่ชาวบ้านนิยมตั้งบ้านเรือนสองฝั่งริมแม่น้ำแม่กลอง คุณพูนศักดิ์ ตันติเดชามงคล อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 5 ตำบลบางยี่รงค์ อำเภอบางคนที จังหวัดสุมทรสงคราม โทร. (084) 084-8431 มีบ้านอยู่ติดกับแม่น้ำแม่กลอง เดิมทำอาชีพรับเหมาก่อสร้างทั่วๆ ไป แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จึงหันมาเลี้ยงปลากะพง และปลาทับทิม ในกระชังบริเวณหน้าบ้านริมแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งเท่านั้น กล่าวคือ สามารถเลี้ยงปลาจนโตและจับขายส่งตลาดได้ แต่เมื่อสรุปรายรับ-รายจ่ายแล้ว ปรากฏว่า ได้รับกำไรน้อยมาก เนื่องจากปลาทั้งสองชนิดดังกล่าวกินอาหารเก่ง ทำให้จำเป็นต้องใช้เงินเลี้ยงปลาแต่ละรุ่นค่อนข้างสูง ประกอบกับในท้องตลาดบางช่วงมีปริมาณปลาเยอะ ส่งผลให้ราคารับซื้อลดลงด้วย“ผมเกิดที่นี่ เห็นความเปลี่ยนแปลงมาตลอด โดยเฉพาะสภาพแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน จากออกเรือดักอวน หาปลาในธรรมชาติ ป้อนตลาด และมีการพัฒนาเลี้ยงปลาในกระชัง โดยอาศัยสายน้ำแม่กลองแห่งนี้ ผมเป็นคนหนึ่งที่เห็นเพื่อนบ้านประสบความสำเร็จในการเลี้ยงปลากะพง และปลาทับทิม จึงอยากยึดอาชีพนี้ด้วย แต่ทว่าเมื่อทำไประยะหนึ่ง ก็ได้รู้คำตอบว่า กำไรที่ได้รับมันไม่ใช่สวยหรูอย่างที่คิด ทำให้เป็นเหตุต้องเปลี่ยนอาชีพใหม่อีกคือ เลี้ยงปลาบู่ และเป็นคำตอบสุดท้ายจนมาถึงวันนี้ว่า ดีที่สุด” คุณพูนศักดิ์ กล่าวเหตุผล ที่พูดว่า ดีที่สุดนั้น คุณพูนศักดิ์ อธิบายว่า เป็นปลาน้ำจืดที่มีราคารับซื้อสูงมาก และปรับตัวขึ้นตลอด จาก 300 บาท ต่อกิโลกรัม เป็น 400 บาท และเวลานี้เกือบ 500 บาท ต่อกิโลกรัมแล้ว มิหนำซ้ำมีพวกพ่อค้าแม่ค้าแย่งกันซื้อสินค้า หรือปลาบู่อีกด้วย“ปลา ชนิดนี้ รสชาติดีมาก โดยเฉพาะนึ่งซีอิ๊ว แต่คนไทยไม่นิยมซื้อมากินกัน ส่วนใหญ่พวกพ่อค้าและแม่ค้ามักส่งออกไปขายที่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร จีน เป็นต้น เมื่อไปตลาดปลายทางและแปรรูปเป็นอาหารแล้ว จะขายกันกิโลกรัมละ 1,000-2,000 บาท เลยทีเดียว” คุณพูนศักดิ์ กล่าวสร้างกระชังเลี้ยงปลาบู่ ออกแบบง่ายๆหน้า บ้านริมน้ำแม่กลองของคุณพูนศักดิ์ เป็นสถานที่เลี้ยงปลาบู่ในกระชัง โดยใช้เหล็กแป๊บเชื่อมต่อเป็นแพยาวกว่า 10 เมตร และซื้อถังพลาสติค 200 ลิตร เกือบ 20 ลูก มาทำทุ่นเพื่อพยุงกระชังไม่ให้จมน้ำกระชังมีทั้ง หมด 5-6 ลูก แต่ละกระชังส่วนใหญ่มีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร โดยออกแบบให้สามารถแยกกระชังออกกับแพได้ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการทำความสะอาดและตรวจเช็ครอยรั่วของกระชังหลังการจับปลาขายแต่ ละรุ่น“ใจจริงผมอยากทำกระชังเลี้ยงปลาบู่ให้มากกว่านี้ แต่ปัญหามาติดอยู่ว่า ไม่สามารถเสาะหาพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพมาเลี้ยงได้จำนวนละมากๆ ต้องอาศัยชาวบ้านช่วยดักจับลูกปลาแถวๆ นี้ หรือสายน้ำแม่กลอง เพราะว่าถ้านำพันธุ์ปลาที่อื่นๆ มาเลี้ยงที่นี่ ส่วนใหญ่แล้วปลาไม่ค่อยรอดหรือเสียหายค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะพันธุ์ปลาที่มาจากบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เพราะว่าในการจับปลามาขายส่วนใหญ่มาพร้อมกับกุ้งก้ามกราม ทำให้เกิดบาดแผลและมีเมือกออกมาด้วยนั่นเอง” คุณพูนศักดิ์ กล่าวพันธุ์ปลาบู่ที่มีคุณภาพหายากพันธุ์ปลาที่ชาวบ้านจับมาขายให้กับคุณพูนศักดิ์นั้น แม้ว่าดักจับด้วยลอบ หรือวิดน้ำจับปลาจากธรรมชาติ โดยไม่บอบช้ำมา แต่ก่อนซื้อปล่อยเลี้ยงนั้นคุณพูนศักดิ์จะนั่งตรวจเช็คทุกตัว เพื่อคัดตัวที่ไม่สมบูรณ์ออกทิ้ง“การเลี้ยงปลาบู่ให้ประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขั้นตอนซื้อพันธุ์มาเลี้ยงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เราต้องเลือกให้ดี บอบช้ำหรือมีเมือกออกมานิดหน่อย เราก็ไม่เอาแล้ว เพราะว่าเลี้ยงไปสัก 20-30 วัน ก็ลอยตายให้เห็น เสียทั้งเงินและเวลาไปเปล่า สู้มานั่งเสียเวลาคัดเลือกในช่วงแรกไม่ได้ แถมไม่ต้องมาเสียเงินซื้อด้วย”คุณพูนศักดิ์ บอกย้ำว่า ด้วยเหตุผลเรื่องสายพันธุ์นี่แหละ ทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่หรือกระชังเลี้ยงปลาให้มากกว่านี้ได้“พันธุ์ปลาบู่มีเยอะ ทั้งในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง แต่ทว่ามีข้อกำจัดทั้งนั้น นำมาเลี้ยงแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยคุ้มค่า”“ผมเลี้ยงปลา ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป มีพันธุ์ที่มีคุณภาพ เราก็ซื้อมาเลี้ยง ไม่มีเราก็คอย ไม่ต้องรีบร้อน ซึ่งสามารถป้องกันการขาดทุนได้ แม้ว่าขณะนี้ผมเลี้ยงน้อยๆ แต่ทว่าเมื่อจับขายแต่ละครั้งกำไรหลายแสนบาททีเดียว เพราะว่าราคารับซื้อมันดีมากนั่นเอง” คุณพูนศักดิ์ กล่าวอนุบาลปลาในบ่อปูน ก่อนปล่อยเลี้ยงในกระชังพันธุ์ปลาบู่ที่คุณพูนศักดิ์ซื้อมาเลี้ยงส่วนใหญ่จะมีขนาด 10 ตัว ต่อกิโลกรัม หรือตัวละ 1 ขีด ในราคากิโลกรัมละ 30 บาท“ในการหาซื้อพันธุ์ปลามาเลี้ยงนั้น ผมจะไปติดต่อกับชาวบ้านที่อาศัยในตามลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ทั้งในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง เมื่อได้ปริมาณมากแล้ว จะขับรถกระบะ มีทั้งถังน้ำ พร้อมออกซิเจน เพื่อไปบรรทุกพันธุ์ปลากลับมาเลี้ยงที่บ้าน” คุณพูนศักดิ์ เล่าให้ฟังเมื่อถึงบ้าน คุณพูนศักดิ์จะไม่ปล่อยพันธุ์ลงเลี้ยงในกระชังทันที แต่จะนำมาอนุบาลไว้ในบ่อซีเมนต์ ขนาดกว้าง 1.50 เมตร ยาว 2 เมตร ซึ่งมีการพ่นน้ำและเปิดออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา“บ่อขนาดนี้ เราดูดน้ำเข้าไปให้อยู่ระดับ 40-50 เซนติเมตร ซึ่งสามารถปล่อยพันธุ์ปลาลงไปอนุบาลได้เกือบ 80 กิโลกรัม เลย เพราะว่าขนาดปลายังเล็กอยู่ อีกทั้งในช่วงนี้ เราไม่จำเป็นต้องให้อาหารอะไร เพียงแต่พักปลาไว้อย่างเดียว ทำให้คุณภาพของปลาในบ่อเลี้ยงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก”คุณพูนศักดิ์ พักปลาอยู่ในบ่อปูนซีเมนต์ดังกล่าว ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งหากปลาตัวไหนไม่แข็งแรง ก็จะทยอยตายในช่วงนี้ หลังจากหยุดตายก็นำไปปล่อยเลี้ยงสู่กระชังปลาบู่เลี้ยงง่าย ขายคล่องเมื่อปลาผ่านการอนุบาลไปแล้ว ก็เท่ากับการเลี้ยงขั้นต่อไป มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงแล้ว เนื่องจากปลาที่เหลือเป็นตัวที่แข็งแรง และสามารถปรับเลี้ยงในสถานที่แคบๆ หรือในกระชังได้1 กระชัง ที่มีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 1.50 เมตร สามารถปล่อยลงเลี้ยงได้ประมาณ 600 ตัว และทุกๆ 2 วัน ให้กินอาหาร 1 ครั้ง ในช่วงเย็นอาหารของปลาบู่นั้น คุณพูนศักดิ์ จะซื้อปลาทูหรือปลาข้างเหลือง ในราคา 12 บาท ต่อกิโลกรัม มาสับๆ ผสมกับเกลือแกงนิดหน่อย ใส่ลงในตะกร้าพลาสติค หย่อนลงไปในกระชัง 1 คืบปลาบู่ในกระชังหลังตะวันตกดินก็จะค่อยๆ ขึ้นมากินเหยื่อหรืออาหารที่วางไว้ และรุ่งเช้าก็ดึงตะกร้าขึ้นมาตรวจสอบดูว่ามีอาหารเหลือหรือไม่หาก อาหารเหลือ ก็ให้ลดปริมาณอาหารลง แต่ถ้าหมดก็ให้เพิ่มขึ้นไปอีก เขาบอกว่า เมื่อเลี้ยงในกระชังได้ประมาณ 6 เดือน ปลาก็จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 4 ขีด แต่ส่วนใหญ่เลี้ยงให้อายุครบ 1 ปี ถึงจะขาย เพราะว่าต้องการให้ปลาโตขึ้น คือน้ำหนักประมาณ 8 ขีด ถึง 1 กิโลกรัม“ปลาที่เลี้ยงในกระชัง ประมาณ 6-7 เดือน ไปแล้ว จะกินอาหารวันละ 5 กิโลกรัม แต่เมื่อ 10-12 เดือน ก็กินอาหารเพิ่มขึ้นเป็น 7 กิโลกรัม แต่ก็คุ้มค่า เพราะว่ากินมาก น้ำหนักปลาที่เราเลี้ยงไว้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่ดีมากเลย” คุณพูนศักดิ์ กล่าวสำหรับการขายปลาบู่นั้น คุณพูนศักดิ์ บอกว่า จะมีกลุ่มพวกพ่อค้าแม่ค้าอยู่จำนวนหนึ่ง เพื่อซื้อส่งออกโดยตรง เพียงแต่เรายกหูโทรศัพท์เท่านั้น พวกเขาก็เดินทางมารับซื้อที่หน้าฟาร์มเลย โดยให้ราคาสูงจนผู้เลี้ยงพอใจ และไม่อยากทำอาชีพอื่นแล้วมิแปลกที่คุณพูนศักดิ์บอกทิ้งท้ายไว้ว่า “เลี้ยงปลาบู่ 3-4 กระชัง ดีกว่าเลี้ยงปลาเศรษฐกิจอื่นๆ 20-30 กระชัง”
ปลูก‘ข่า’
“ข่า” เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและโรคผิวหนังได้ มีประโยชน์ทางโภชนาการ นำมาทาเครื่อง ปรุงอาหาร ทำน้ำพริก แกง ได้หลายชนิด เพราะฉะนั้นข่าจึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรสามารถปลูกเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว ซึ่งทีมงาน “ช่องทางทำกิน” ได้ร่วมกับคณะกรมส่งเสริมการเกษตรไปดูงานการเกษตรที่อีสานเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีข้อมูลการ “ปลูกข่าขาย” มานำเสนอกัน...
ที่บ้านน้ำเที่ยง ต.ห้วยขะยุง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่มีการ “ปลูกข่าขาย” เป็นอาชีพเสริมรองจากการทำไร่นามากว่า 20 ปี ด้วยเพราะข่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกง่ายดูแลไม่ยาก
เทือง บุราเกษ เกษตรกรผู้ปลูกข่าอ่อนบ้านน้ำเที่ยง ซึ่งมีประสบการณ์ปลูกข่าขายมานานนับปี เล่าว่า แต่ก่อนเกษตรกรบ้านน้ำเที่ยงส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำไร่ทำนาเท่านั้น ส่วนข่านั้นยังไม่มีใครสนใจปลูกจริงจังเท่าไหร่ จนมีผู้ใหญ่ในหมู่บ้านคนหนึ่งนำพันธุ์ข่ามาปลูก และสามารถขยายพันธุ์ได้มากถึง 5 ไร่ นำไปจำหน่ายเป็นการเพิ่มรายได้จากการทำไร่ทำนาได้เป็นอย่างดี และก็ได้แจกพันธุ์ข่าให้กับชาวบ้านไปทดลองปลูกกัน จากนั้นก็มีการปลูกจำหน่ายเป็นรายได้เสริมกันแพร่หลายมาจนทุกวันนี้
ข่านั้นปลูกครั้งเดียวสามารถให้ผลผลิตได้ยาวนานต่อเนื่องถึง 10 ปี ข่าที่ปลูกกันที่บ้านน้ำเที่ยง จะเป็นพันธุ์ “ข่ากลาง” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ข่าแดง” เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่ายแตกหน่อดี ให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี
“ดินที่เหมาะสมในการปลูกข่านั้นจะต้องเป็นดินที่มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย และต้องไม่มีน้ำท่วมขัง”
เกษตรกรรายเดิมให้ข้อมูลต่อไปว่า การเตรียมดินในการปลูกข่านั้นเริ่มจากไถพรวนหรือไถคราดปรับหน้าดิน จากนั้นก็ทำการขุดหลุมปลูกให้ได้ขนาดหลุมละ 50x50 ซม. ให้ได้ระยะห่างประมาณ 1x1 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกแห้ง หรือจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำหรือเม็ดก็ได้

การลงต้นพันธุ์ โดยปลูกหลุมละ 3-5 ต้น เมื่อปลูกต้นพันธุ์ลงไปเรียบร้อยก็ทำการกลบดินจากนั้นก็ใส่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณหลุมละ 1 ช้อนแกง ขั้นตอนต่อมาก็นำเศษวัสดุพวกใบไม้แห้งหรือฟางมาคลุมเพื่อเป็นการรักษาความชื้น
การปลูกข่า 1 ไร่ จะใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 1,600 ต้น ต้นพันธุ์นั้นมีราคาอยู่ที่ต้นละ 2 บาท สำหรับข่าที่จะนำมาทำเป็นแม่พันธุ์ได้นั้นจะต้องมีอายุการปลูกประมาณ 1 ปี...
ขั้นตอนในการดูแลรักษา การให้น้ำ ก็ไม่ยุ่งยากมาก ถ้าเป็นในหน้าฝนการให้น้ำก็ไม่จำเป็นต้องให้ก็ได้ ส่วนถ้าเป็นในหน้าแล้งก็จะให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การให้น้ำในแปลงปลูกข่านั้นก็จะใช้วิธีการปล่อยระบายน้ำลงในแปลงปลูกให้ทั่วและต้องให้ชุ่ม
ส่วนการใส่ปุ๋ย ก็จะใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตราประมาณ 50 กก. ต่อ 1 ไร่ ใส่ปีละ 2 ครั้ง และอีกสูตรหนึ่งก็คือ สูตร 13-13-21 เป็นปุ๋ยบำรุงหัวข่าให้สมบูรณ์ จะใส่ทุกเดือน ๆ ละครั้ง เป็นเวลา 1 ปี
หลังจากที่ลงแปลงปลูกข่าได้ประมาณ 3 เดือน ก็เริ่มเก็บหน่อข่าอ่อนได้แล้ว แต่ข่าจะให้หน่ออ่อนเต็มที่เมื่อข่าอายุได้ประมาณ 6 เดือน และสามารถเก็บได้ยาวไปจนถึง 10 ปี
“การสังเกตข่าอ่อนที่สามารถเก็บขายได้แล้วนั้น ต้องเลือกเก็บต้นที่มีใบออกมาประมาณ 3-5 ใบ ถึงจะได้ข่าอ่อนที่ไม่แก่เกินไป” เกษตรกรผู้ปลูกข่าขายบอก
ทั้งนี้ การปลูกข่า 1 ไร่ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 14,000 บาท ซึ่งเป็นค่าพันธุ์ ค่าปุ๋ย และค่าเตรียมดิน ส่วนรายได้ในการเก็บข่าอ่อนจำหน่ายก็จะอยู่ที่ประมาณวันละ 500-700 บาท/ไร่